คุณสมบัติผู้สมัครงาน
เพศชาย - หญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป
สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้
สามารถใช้งาน Word - Excel ได้ในเบื้องต้น
รับคนที่มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
สามารถทำงานได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 6 วันต่อสัปดาห์
จบการศึกษา ม.3 ขึ้นไป หรือ กำลังศึกษาอยู่
เอกสารที่ใช้ในการสมัครงาน
สำเนาบัตรประชาชน
สำเนาบัญชีธนาคารหน้าแรก
สำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาวุฒิการศึกษา
รูปถ่าย
บริษัท เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด
ติดต่อ : ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
444 ชั้น 10 อาคามาบุญครองเซ็นเตอร์ แขวงวังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330
ราวปี พ.ศ.2512 ข้าราชการตำรวจ สมาน ทองร่มโพธิ์ ตัดสินใจลาออกจากราชการที่กรุงเทพฯ ภูมิลำเนา และพาครอบครัวย้ายมาอยู่ จ.ตราด พร้อมกับเริ่มต้นกิจการ "ศรีตราดราม่า" หน้าตลาดสดขนาดใหญ่ในเมือง ด้วยใจรักโรงหนังชนิดเอาใจใส่องค์ประกอบทุกส่วนในโรงภาพยนตร์ จนอาจจะมากกว่าหนังที่ฉาย โดยมองว่าหากเริ่มต้นที่นี่ก็จะไม่มีคู่แข่ง ศรีตราดราม่า จึงเป็นโรงหนังทันสมัยแห่งแรกของตราด
อย่างไรก็ตามสมานทำกิจการนี้ได้เพียง 13 ปีก็ต้องประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทิ้งให้ภรรยาและลูกๆ 5 คนที่กำลังอยู่ในวัยเรียนดูแล...ตอนนั้นเองที่สุวัฒน์ลูกชายคนโต อายุเพียง 17 ปี(พ.ศ.2525) ขณะเรียน มศ.5 เลือกรับหน้าที่ดูแลกิจการต่อ ด้วยอยากทำสิ่งที่พ่อรัก ความผูกพันกับโรงหนังที่ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่าไร่ครึ่ง เป็นบ้านของครอบครัว และเห็นว่าพนักงานมีกว่า 100 ชีวิตให้ต้องรับผิดชอบ
ด้วยการสนับสนุนจากลูกน้องเก่าและพรรคพวก ทำให้การทำธุรกิจของสุวัฒน์เริ่มต้นอย่างดี และนำพาให้โรงหนังขยายสาขาครอบคลุมทั้งภาคตะวันออก ตั้งแต่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และสระแก้ว พร้อมกับที่กิจการสายหนัง สมานฟิล์มก็ได้เป็นตัวแทนจากค่ายหนังทุกค่าย
จวบจนทศวรรษที่ 2530 กิจการโรงหนังซบเซา จนเมื่อปี 2537 การมาของ อีจีวี และ เมเจอร์ ซีเนเพล็กซ์ ทำให้ธุรกิจนี้คึกคักอีกครั้ง หลายคนอาจมองว่าคงเป็นเรื่องยากที่จะสู้ได้ แต่สุวัฒน์ไม่คิดอย่างนั้นและทำให้เกิดโรงมัลติเพล็กซ์ SF Cinema City(SF ย่อมาจาก สมานฟิล์ม) โดยเริ่มต้นที่ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง ชั้น 7 เป็นที่แรกในเดือนเมษายน 2542 ด้วยพื้นที่ 25,000 ตร.ม. ทุ่มทุนกว่า 600 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด One Floor Entertainment เพราะเห็นโอกาสจากโรงหนังมัลติเพล็กซ์ในขณะนั้นเน้นไปที่ชานเมืองเป็นหลัก แต่ใจกลางกรุงเทพฯ กลับยังไม่มีโรงหนังทันสมัย และในปี พ.ศ.2544 ก็เปิดอีกถึง 3 สาขาพร้อมกันคือ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน, บางแค, และ บางกะปิ
จุดต่างของ SF Cinema City คือแต่ละสาขาจะมีการออกแบบโรงภาพยนตร์ไม่ซ้ำกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น สาขามาบุญครอง ออกแบบภายใต้แนวคิด The Movie Planet, บางกะปิ กับ The Movie Pavillion, บางแค กับ The Movie Factory, งามวงศ์วาน กับ The Movie Ocean ฯลฯ
ปัจจุบันกิจการโรงภาพยนตร์ของ SF Cinema ภายใต้ชื่อ SF Group มีโรงหนังกว่า 24 สาขา ภายใต้ชื่อต่างกันไป ตั้งแต่ SF World, SF Cinema City, SFX Cinema และ SF Multiplex นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่นๆ อาทิ คาราโอเกะ, โบว์ลิ่ง และธุรกิจพัฒนาที่ดิน ในอนาคตทางบริษัทยังมีโครงการจะเปิดอีกหลายสาขา เช่น สาขาแจ้งวัฒนะ, ท่าพระ และ หาดป่าตอง ภูเก็ต
1 ความคิดเห็น:
สนใจค่ะ
แสดงความคิดเห็น